อนามัยบนใบหน้า
.
เน้นย้ำอีกครั้งว่าต้องหลีกเลี่ยงการจับใบหน้า และเว้นระยะห่างระหว่างกัน โดยให้อยู่ห่างจากผู้อื่นประมาณ 1.5 เมตร เพื่อป้องกันไวรัสที่ลอยมากับสารคัดหลั่งหรือน้ำลายของผู้ป่วย และถ้าให้ดีกว่านั้นคือการป้องกันด้วยการใส่หน้ากาก โดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีคำแนะนำไว้ดังนี้
การใส่หน้ากากอนามัย
– ใส่หน้ากากผ้า ในกรณีไม่ได้ป่วย ไม่ได้มีอาการสุ่มเสี่ยง และไม่ได้ต้องไปในพื้นที่สุ่มเสี่ยงหรือคนเยอะ เพื่อสงวนหน้ากากอนามัยไว้ให้กับผู้ที่จำเป็นต้องใช้ก่อน เช่น คนทำงานในโรงพยาบาล และผู้ป่วย
– ใส่หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป ในกรณีที่เป็นผู้ป่วย หรือมีอาการสุ่มเสี่ยง หรือทำงานใกล้ชิดคนป่วย หรือไม่ได้ป่วยแต่ต้องไปในพื้นที่สุ่มเสี่ยงหรือคนเยอะ โดยใส่ให้พอดีกับใบหน้า หันด้านที่มีสีออก บีบบริเวณเส้นลวดให้พอดีกับจมูก ดึงให้ครอบคลุมทั้งจมูกและปาก
– ใส่หน้ากากอนามัยแบบ N95 ในกรณีที่เป็นผู้ป่วย ผู้ทำงานใกล้ชิดคนป่วยโดยครอบหน้ากากบริเวณปากและจมูก ดึงสายรัดที่อยู่ด้านล่าง คล้องศีรษะ แล้วดึงลงไปบริเวณใต้ใบหู จากนั้นดึงสายรัดเส้นบนคล้องให้อยู่บริเวณหลังศีรษะ บีบบริเวณเส้นลวดให้พอดีกับจมูก ทดสอบความพอดีของหน้ากากโดยใช้มือทั้งสองข้างทาบบริเวณหน้ากาก แล้วลองหายใจ หากหน้ากากพอดีกับใบหน้าเวลาหายใจเข้าหน้ากากจะยุบตัว หายใจออกจะพองตัวออก
– เปลี่ยนหน้ากากทันที หากใช้แล้วเปียกจากสารคัดหลั่ง เช่น น้ำลาย น้ำมูก และไม่ควรนำกลับมาใช้ซ้ำ
– แยกทิ้งหน้ากาก ใส่ถุงปิดให้มิดชิด หรือทิ้งในถังขยะติดเชื้อ และล้างมือทำความสะอาดเพื่อป้องกันการตกค้างของเชื้อโรค
ทั้งนี้ ถ้าบังเอิญอยากจะจามหรือไอขึ้นมาในจังหวะที่ไม่มีผ้าปิดปาก แม้ว่าจะไม่ได้ป่วย ก็ควรใช้ทิชชู่ปิดปาก (แล้วแยกทิ้งให้เรียบร้อย) หรือไอจามด้วยการยกต้นแขนขึ้นมาปิดปากแทนมือ ไม่ควรใช้มือปิดปากเวลาไอหรือจาม หลังจากนั้นควรล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์อีกทีเพื่อความชัวร์ คลิกอ่านเต็มๆ ได้ที่ https://wp.me/p8pUTZ-5Uh

Send Us a Message